วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไดชาร์จ H25

ซ่อมรถกอล์ฟ



WWW.PCNFORKLIFT.COM

สายพานรถกอล์ฟ




วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ซ่อมรถกอล์ฟไฟฟ้า YAMAHA 72V

ซ่อมชุดควบคุมรถกอล์ฟไฟฟ้า yamaha 72v

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

มอเตอร์รถกอล์ฟไฟฟ้า 48v

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ซ่อมรถกอล์ไฟฟ้า EZGO 48V

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไฟไหม้รถกอล์ฟ หมู่บ้านกรีนวัลเล่ย์ เชียงใหม่ 160 คัน สูญกว่า 30 ล้าน



ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ข่าวสด

 ไฟไหม้รถกอล์ฟ 160 คัน หมู่บ้านกรีนวัลเล่ย์ เชียงใหม่ กลางดึก ขณะนำรถชาร์ตแบตเตอรี่ทิ้งไว้ สูญกว่า 30 ล้าน วันนี้ (10 พฤษภาคม 2557) เมื่อเวลา 01.59 นาทีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แม่ริม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ รับแจ้งเหตุไฟไหม้รถกอล์ฟภายในสนามกอล์ฟกรีนวัลเล่ย์ อ.แม่ริม จำนวนหลายคัน ซึ่งหมู่บ้านดังกล่าวเป็นที่ตั้งของบ้านพักเครือญาติชินวัตร เช่นบ้านของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เป็นต้น ทั้งนี้ หลังจากได้รับแจ้ง เจ้าหน้าที่ก็รุดไปตรวจสอบ โดยพบว่า จุดเกิดเหตุอยู่ภายในโรงเก็บรถกอล์ฟ มีรถกอล์ฟถูกไฟไหม้เสียหายประมาณ 150-160 คัน เจ้าหน้าที่สนามได้รีบขับรถกอล์ฟออกมาได้เป็นบางส่วน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท (รถกอล์ฟราคาคันละประมาณ 2 แสนบาท) จากการสอบสวนทราบว่า ขณะเกิดเหตุยามของหมู่บ้านที่ประจำการอยู่บริเวณป้อม ห่างออกไปประมาณ 30 เมตรนั้น ได้ยินเสียงคล้ายระเบิด จึงวิ่งไปดู พบว่าไฟกำลังไหม้รถกอล์ฟที่จอดชาร์ตแบตเตอร์รี่ทิ้งไว้ในเวลากลางคืน จึงได้แจ้งเจ้าหน้าที่ห้องควบคุมร่วมกันเข้าดับเพลิง แต่เนื่องจากโรงเก็บดังกล่าวมีรถกอล์ฟจอดทั้งสิ้น 170 คัน จึงไม่สามารถนำรถออกมาได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ตำรวจจะตรวจพิสูจน์หลักฐานเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

FORKLIFT HYSTER High Capacity Trucks H25XMS-9


ไดสตาร์ทรถโฟล์คลิฟท์ เครื่อง nissan H25

forklift sumitomo lpg 3.5 ton engine v6 GM


ซ่อมรถโฟล์คลิฟท์แก๊ส sumitomo 3.5 ton เครื่อง v6

hyster forklift models


วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

FORKLIFT PUMP HYDRAULIC


ระบบระบายความร้อนและระบบหล่อลื่น

ระบบระบายความร้อนและระบบหล่อลื่น
ระบบหล่อลื่น
                การหล่อลื่นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานของเครื่องยนต์เนื่องจากภายในเครื่องยนต์มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวและเสียดสีกันมาก  แม้ว่าผิวหน้าของชิ้นส่วนที่เกิดการเสียดสีจะเรียบ  แต่เมื่อเสียดสีกันจะทำให้เกิดความร้อน  ชิ้นส่วนทั้งสองอาจจะหลอมติดกัน  ทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์ได้  การหล่อลื่นจึงมีหน้าที่สำคัญคือลดการเสียดสีของชิ้นส่วนต่างๆ และลดการสูญเสียกำลังเนื่องจากการเสียดสี  นอกจากนั้น ยังช่วยระบายความร้อน อุดการรั่วซึม ลดความดังของเสียง และทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆ                
   การแบ่งชนิดของน้ำมันหล่อลื่นถือเอาค่าความหนืดเป็นหลัก  โดยทางสมาคมวิศวกรรมยานยนต์เป็นผู้กำหนด  โดยเรียกชนิดของน้ำมันเป็นค่าของ เอส เอ อี เช่น น้ำมันหล่อลื่น เอส เอ อี เบอร์ 30  ซึ่งแสดงถึงความข้นหรือใสของน้ำมันเท่านั้น  มิได้บอกถึงคุณภาพหรือสภาพของงานที่ใช้กับน้ำมันชนิดนี้
                น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้กับเครื่องส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมัน เอส เอ อี เบอร์ 10 ถึง 40  ส่วนน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้กับเกียร์และเฟืองท้ายจะเป็นน้ำมัน เอส เอ อี เบอร์ 50 ถึง 140
ระบบหล่อลื่นในเครื่องยนต์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบคือ
1.  ระบบวิดสาด
2.  ระบบใช้แรงฉีด
ระบบวิดสาด ( Splash system )
            เป็นระบบหล่อลื่นที่ง่ายและใช้มากในเครื่องยนต์สูบเดียวที่มีการระบายความร้อนด้วยอากาศ  น้ำมันหล่อลื่นที่อยู่ในห้องน้ำมันเครื่องจะถูกปั้มดูดส่งน้ำมันจากห้องน้ำมันเครื่องไปยังอ่างน้ำมันเครื่องซึ่งอยู่ใต้ก้านสูบที่ปลายก้านสูบจะมีเหล็กวิดสาด (dipper) จุ่มลงในอ่างน้ำมันเครื่องและวิดเอาน้ำมันเครื่องสาดไปทั่วชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์
ระบบใช้แรงฉีด ( Inject  system )
            ใช้กันมากสำหรับเครื่องยนต์ของรถแทรกเตอร์   ซึ่งมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าแบบวิดสาด แต่ทำการหล่อลื่นดีกว่า
ระบบหล่อลื่นแบบใช้แรงฉีดประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1.  เครื่องกรองน้ำมันก่อนเข้าปั้ม
2.  ปั้ม
3.  ลิ้นควบคุมความดัน
4.  หม้อกรองน้ำมันเครื่อง
5.  เครื่องวัดความดันน้ำมันเครื่อง 
ดสาดเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน  เพลาลูกเบี้ยวจะขับให้ปั้มหมุนและดูดน้ำมันหล่อลื่นขึ้นมาจากอ่างน้ำมัน  ผ่านเครื่องกรองเพื่อแยกเอาสิ่งสกปรกและเศษโลหะขนาดใหญ่ออก  แต่เนื่องจากความเร็วของปั้มขึ้นอยู่กับความเร็วของเครื่องยนต์  ดังนั้น ความดันในน้ำมันเนื่องจากการดูดของปั้มจึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อความดันของน้ำมันมากเกินไปลิ้นควบคุมความดันน้ำมันก็จะเปิดและปล่อยให้น้ำมันบางส่วนไหลกลับเข้าห้องน้ำมันเพื่อกรองสิ่งสกปรกเล็กๆ หรือเศษเขม่าทำให้น้ำมันสะอาด  หลังจากนั้นน้ำมันก็จะถูกส่งขึ้นไปหล่อลื่นที่ประกับเพลาข้อเหวี่ยง  ก้านลูกสูบเพลาลูกเบี้ยว เฟืองต่างๆ สลักลูกสูบและชิ้นส่วนอื่นๆ
ระบบระบายความร้อน
             พลังงานความร้อนถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานกลเพื่อนำไปใช้งานนั้น  เกิดจากการเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์  ความร้อนที่เกิดจากาการเผาไหม้นี้มีมากแต่ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานกลน้อย  ความร้อนส่วนใหญ่จะสูญเสียไปโดยการถ่ายเทความร้อนไปที่เสื้อสูบ  ฝาสูบ  ลูกสูบ  และลิ้น  ดังนั้น ถ้าหากชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้รับการระบายความร้อนที่ดี และเพียงพอแล้วจะทำให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหายและก่อให้เกิดอันตรายได้  การระบายความร้อนในเครื่องยนต์จึงมีความสำคัญเพราะถ้าหากว่ามีการระบายความร้อนน้อยเกินไปเครื่องยนต์จะร้อนมาก  ชิ้นส่วนต่างๆ อาจจะชำรุดแตกเสียหาย  ลูกสูบและลิ้นอาจจะไหม้  เครื่องยนต์อาจจะเกิดการน๊อค และระบบหล่อลื่นจะทำงานได้ไม่ดี  แต่ถ้าหากมีการระบายความร้อนมากเกินไป  เครื่องยนต์จะเย็น  ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
              การระบายความร้อนแบ่งออกได้เป็น  2  ระบบ
1.  ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
2.  ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว
การระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooling System) ส่วนใหญ่จะใช้กับเครื่องยนต์ขนาดเล็กสูบเดียว โดยการใช้อากาศที่ผ่านเครื่องยนต์เป็นตัวรับความร้อนที่ระบายจากเครื่องยนต์  เสื้อสูบและฝาสูบจะออกแบบให้มีลักษณะเป็นครีบเพื่อเพิ่มเนื้อที่การระบายความร้อนให้กับอากาศ  อาจจะมีพัดลมติดอยู่ตรงล้อช่วยแรง และมีแผ่นโลหะบังคับทิศทางลมให้ผ่านบริเวณตัวเครื่องเพื่อที่จะให้การระบายความร้อนดีขึ้น
 ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว (Liquid Cooling System) ส่วนใหญ่อาศัยน้ำรับความร้อนที่ระบายออกจากเครื่องยนต์และใช้อากาศรับความร้อนจากน้ำ  ทำให้น้ำเย็นลงแล้วให้น้ำเย็นนั้นไหลกลับไปรับความร้อนจากเครื่องใหม่  ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวนี้สามารถควบคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ได้ดีกว่า และช่วยให้เครื่องยนต์เย็นเร็วกว่าระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
  ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำในเครื่องยนต์ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
หม้อน้ำหรือรังผึ้ง (Radiator)
              ทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนจากน้ำให้อากาศด้วยการรับน้ำที่มีความร้อนจากเสื้อสูบ  และทำให้เย็นลงโดยให้อากาศที่พัดผ่านรับเอาความร้อนจากน้ำในหม้อน้ำไป หม้อน้ำประกอบด้วยหม้อน้ำส่วนบนและหม้อน้ำส่วนล่าง  ระหว่างหม้อน้ำส่วนบนและส่วนล่าง  จะมีท่อน้ำเล็กๆ หลายท่อเชื่อมอยู่ ทำให้น้ำแยกไหลไปตามท่อ  ตรงบริเวณท่อน้ำเล็กๆ เหล่านี้จะมีโลหะเชื่อมติดเป็นครีบ มีลักษณะคล้ายรังผึ้งเพื่อให้เกิดพื้นที่ผิวสำหรับระบายความร้อนได้มาก  โดยความร้อนของน้ำจะถ่ายเทความร้อนให้กับอากาศที่พัดผ่าน
ปั้มน้ำ (Water Pump)
             ปั้มน้ำส่วนใหญ่จะเป็นปั้มแบบหอยโข่ง  ติดตั้งอยู่บนบริเวณหน้าของเสื้อสูบและรับกำลังหมุนมาจากสายพาน  ปั้มจะดูดน้ำจากหม้อน้ำส่วนล่างผ่านเข้าตัวปั้มของท่อน้ำข้างล่าง  และไหลออกจากปั้มเข้าหมุนเวียนอยู่ในช่องว่างภายในเสื้อสูบและฝาสูบเพื่อรับความร้อนจากส่วนต่างๆ  น้ำที่ได้รับความร้อนแล้วจะไหลออกจากเสื้อสูบทางท่อน้ำข้างบนผ่านลิ้นควบคุมอุณหภูมิน้ำเข้าไปยังหม้อน้ำส่วนบน  จากนั้นก็ไหลผ่านบริเวณรังผึ้งเพื่อถ่ายเทความร้อนให้แก่อากาศต่อไป
ทางน้ำไหลในตัวเครื่องยนต์ (Water Passage)
             ช่องว่างที่อยู่ภายในเนื้อโลหะที่ใช้ทำเป็นเสื้อสูบและฝาสูบ  ใช้เป็นทางให้น้ำไหผ่านเพื่อระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์  ทางน้ำไหลนี้จะมีรอบกระบอกสูบ และตลอดความยาวช่วงชักของลูกสูบเพื่อเป็นการป้องกันการขยายตัวไม่เท่ากันของกระบอกสูบ
ลิ้นควบคุมอุณหภูมิของน้ำ (Thermostat) 
             จะติดตั้งไว้ตรงท่อน้ำที่ไหลเข้าหม้อน้ำส่วนบน  ลิ้นควบคุมอุณหภูมิของน้ำนี้จะเปิดและปิดโดยอัตโนมัติด้วยความร้อนที่มีในน้ำที่ไหลผ่าน  โดยปกติลิ้นนี้จะปิดและไม่ยอมให้น้ำไหลผ่านออกไปจากเสื้อสูบได้ถ้าอุณหภูมิของน้ำยังไม่ร้อนถึงจุดที่กำหนดให้เปิด  น้ำก็จะไหลวนเวียน และรับความร้อนเพิ่มจากภายในเสื้อสูบและฝาเสื้อสูบจนกระทั่งความร้อนของน้ำนั้นสูงถึงอุณหภูมิที่กำหนด  ลิ้นควบคุมอุณหภูมินี้ก็จะเปิดให้น้ำไหลผ่านเข้าสู่หม้อน้ำ และคายความร้อนให้กับอากาศ  อุณหภูมิของน้ำที่กำหนดให้ลิ้นควบคุมอุณหภูมิเปิดจะอยู่ประมาณ 65 องศาเซลเซียส
พัดลม (Fan)
              เมื่อน้ำซึ่งร้อนไหลผ่านบริเวณรังผึ้ง  พัดลมที่อยู่หลังหม้อน้ำก็จะทำหน้าที่เป่าลมให้พัดผ่านหม้อน้ำ และพาเอาความร้อนจากน้ำออกไป  ต่อจากนั้นก็จะไหลลงสู่หม้อน้ำส่วนล่างและไหลเวียนต่อไป

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

TB BOOM LIFT


ระบบพลังไฟฟ้า (electrical power system)

ระบบพลังไฟฟ้าของรถยก มีข้อกำหนดความปลอดภัยอย่างไรบ้าง

ระบบไฟฟ้ามีข้อกำหนดความปลอดภัยรวมตั้งแต่ แบตเตอรี่ อุปกรณ์ไฟฟ้า และระบบป้องกันไฟรั่ว ไฟเกิน ได้แก่

1) ตู้บรรจุแบตเตอรี่ เป็นแหล่งพลังงานของรถยกและถือว่าเป็นจุดสำคัญที่ต้องมีการป้องกัน ฝาตู้ที่เปิดต้องมีระดับห่างจากตัวแบตเตอรี่ไม่ต่ำกว่า 30 มิลลิเมตร เพื่อให้ไอระเหยของน้ำกรดที่ร้อนจัดสามารถระบายออกไปได้ และสามารถรับแรงกระแทกได้ไม่ต่ำกว่า 980 Nforce

2) Connector เป็นอุปกรณ์สำคัญอีกตัวหนึ่งที่อาจใช้ในการตัดไฟจากแหล่งพลังงานเวลาฉุกเฉินได้ ต้องสามารถทนแรงไฟเป็น 4 เท่าของกำลังไฟปกติ ชนิดของ connector มีขนาดแยกตามสีต่างๆ ตามมาตรฐานสากล

3)อุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีแนวนป้องกันไฟฟ้าช๊อต ต้องแยกห้องไฟฟ้าต่างหาก มีการป้องกันด้วยระบบลงดิน(earthing) มีวงจรพิเศษสำหรับระบายไฟจากการใช้ไฟเกิน (overload) และมีฟิวส์ (fuse) ขนาดเหมาะสมป้องกันไฟลัดวงจร

4) ต้องมีระบบสวิตช์ฉุกเฉิน (emergency disconnection) อยู่ใกล้มือคนขับที่พร้อมจะตัดไฟจากวงจรได้อย่างรวดเร็ว

5) ต้องมีระบบระบายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของมอเตอร์

6) รถยกที่นำไปใช้งานในโรงงานหรือสายการผลิต ต้องคำนึงถึงการเข้ากันได้ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า EMC (electromagnetic compatibility) หมายถึงการไม่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปรบกวนซึ่งกันและกันระหว่างรถยกไฟฟ้ากับเครื่องจักรกลอื่น ที่ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

ระบบควบคุมและเบรก (control & brake system)

สิ่งที่สำคัญในข้อกำหนดด้านนี้จะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างต่างๆ และการควบคุมการขับเคลื่อนของตัวรถ ได้แก่

1.การกำหนดรัศมีวงเลี้ยวและขนาดกว้าง ยาว สูงของตัวรถชัดเจนและเหมาะสม สีรถต้องเป็นสีที่ตัดกันกับอุปกรณ์อื่นๆ ในสิ่งแวดล้อมที่ทำงาน เพื่อให้เห็นได้ชัดว่ารถยกกำลังทำงานหรือวิ่งไปมา ดังนั้น จึงได้พบเห็นเสมอว่ารถยกทั่วไปมีสีฉูดฉาดและสามารถมองเห็นได้แต่ไกล เช่น สีส้ม สีเหลือง สีแดง เป็นต้น

2.การควบคุมความเร็วในการขับเคลื่อน จะต้องมีความเร็วที่กำหนดเหมาะสม ไม่เร็วเกินไป มีความสามารถในการไต่ทางลาดชันและข้ามสิ่งกีดขวางได้ระดับหนึ่ง อุปกรณ์ที่บังคับเดินหน้าถอยหลังจะต้องสอดคล้องกับทิศทางเช่นเดียวกัน อุปกรณ์ที่บังคับเลี้ยงซ้ายขวาต้องมีลักษณะการทำงานสอดคล้องกับทิศทางการเลี้ยว

3.พวงมาลักที่ใช้จะต้องคืนตัวได้และสามารถบังคับด้วยมือเดียวได้ ดังนั้น พวงมาลัยรถยกจึงมีปุ่มเพิ่มขึ้น เพื่อให้บังคับทิศทางรถด้วยมือเพียงข้างเดียวได้สะดวก เหตุที่ต้องออกแบบเช่นนี้ เพราะรถยกต้องทำงานด้วยมือทั้งสองข้างพร้อมกันในขณะขับเคลื่อน เช่น ต้องมีมือเหลือที่จะยกงาขึ้นลง หรือโยกหน้าหลัง เป็นต้น

4.ระบบเบรกเป็นเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการหนึ่ง รถยกจะมีเบรกหลายแบบ ซึ่งนอกจากการเบรกในเวลาทำงานที่เรียกว่า service brake แล้ว ยังมีระบเบรกในขณะที่รถจอดอยู่กับที่เรียกกันว่าเบรกอัตโนมัติ หรือ parking brake ช่วงป้องกันอันตรายจากการเคลื่อนตัวหรือลื่นไถลโดยไม่มีคนขับ

มาตราฐานที่ดีได้กำหนดน้ำหนักของเบรกที่จำเป็นของรถยกแต่ละรุ่น เพราะน้ำหนักตัวรถและความเร็วรถที่มีไม่เท่ากัน ทำให้ต้องมีน้ำหนักของเบรกเพียงพอกับรถชนิดนั้นๆ

5.รถยกประเภทเดินตามที่มีระยะหัว tiller ตั้งตรงกับนอนราบ ต้องมีระยะเบรกในตัวและยังต้องมีระบบเบรกชนิดพิเศษที่หัว tiller โดยคำนึงถึงรถเวลาถอยหลังมาหาคนขับ ถ้าบังเอิญคนขับถอยเข้าสู่มุมอับหรือติดกำแพง ระบบเบรกที่หัว tiller จะกระแทกกับคนขับ แล้วทำให้รถยกวิ่งกลับทิศทางได้ทันที เรียกว่า “reversing moving”

6.การวางตำแหน่งคานบังคับ ต้องเรียงตามที่กำหนดไว้ในมาตราฐาน กล่าวคือ ให้เรียงตามลำดับจาก A B C เพื่อช่วยให้คนขับรถยกสามารถบังคับรถได้ทุกคันเหมือนกันหมด และไม่เกิดความผิดพลาดในการบังคับ

A = คานสำหรับยกงาขึ้นลง

B = คานสำหรับการโยกเสาเอนหน้าหลัง

C = คานสำหรับอุปกรณ์เสริม

จำหน่าย งารถโฟล์คลิฟท์







WWW.PCNFORKLIFT.COM



ระบบบังคับเลี้ยว

ระบบบังคับเลี้ยว (steering system)
ระบบบังคับเลี้ยวของเครื่องจักรกลงานก่อสร้างแบบที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวเครื่องจักรกล การเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่นี้ก็คือ การเปลี่ยนทิศทางไปทางขวาหรือเลี้ยวขวา หรือเปลี่ยนทิศทางไปทางซ้ายหรือเลี้ยวซ้าย โดยการเลี้ยวนี้จะต้องสามารถควบคุมได้โดยพนักงานขับเคลื่อน
สมรรถนะของระบบบังคับเลี้ยวของเครื่องจักรกลล้อยาง จะนิยมกำหนดโดยรัศมีวงเลี้ยวด้านนอกซึ่งก็คือระยะรัศมีจากจุดศูนย์กลางของการเลี้ยว (turning center) ไปยังกึ่งกลางของ ล้อด้านนอกในขณะที่ทำการหักเลี้ยวมากที่สุด
สำหรับแบบของการบังคับเลี้ยวของเครื่องจักรกลล้อยางที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 4 แบบคือ
1.  การเลี้ยวล้อ (wheel steering)
2.  การเลี้ยวโดยการหักลำตัว (articulated steering)
3.  การเลี้ยวโดยใช้ระบบไฟฟ้า (electric steering) และ
4.  การเลี้ยวโดยการปรับการส่งกำลังไปยังล้อแต่ละข้าง (skid steering)
ส่วนแบบของการบังคับเลี้ยวของเครื่องจักรกลตีนตะขาบนั้นจะเป็นแบบที่ใช้เบรกช่วย (brake-assisted steering) ซึ่งก็คือการเลี้ยวโดยปรับการส่งกำลังไปยังตีนตะขาบแต่ละข้างนั่นเอง
safety68 - 0001
1.  การเลี้ยวล้อ
การเลี้ยวล้อก็คือการบังคับเฉพาะตัวล้อให้หักทำมุมกับแนวตรง ซึ่งล้อจะต้องสามารถส่ายไปมาได้รอบสลักล้อ (kig pin) การควบคุมการทำงานโดยทั่วไปจะบังคับด้วยพวงมาลัย (steering wheel) แล้วเปลี่ยนการเคลื่อนที่จากการหมุนให้เป็นการโยกไปมาด้วยห้องเกียร์บังคับเลี้ยว (steering gearbox) จากห้องเกียร์ก็จะต้องมีชุดแขนต่อเพื่อไปผลักให้ล้อหักทำมุมกับแนวตรง การเลี้ยวล้อของเครื่องจักรกลล้อยางที่ใช้ในงานก่อสร้างที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นจะมีการเลี้ยวอยู่ 4 วิธีคือ
1.1  การเลี้ยวล้อหน้า (front wheel steering) จะเป็นแบบที่นิยมใช้กันมากและสะดวกในการควบคุมเพราะเป็นการเลี้ยวเช่นเดียวกับรถยนต์ ซึ่งพนักงานขับเคลื่อนเครื่องจักรกลจะคุ้นเคยกับการขับรถยนต์ดีอยู่แล้ว การเลี้ยวล้อหน้านี้รอยทางเดินของล้อหลังจะไม่ทับกับล้อหน้า แต่จะอยู่ด้านในของรอยทางเดินของล้อหน้า
1.2  การเลี้ยวล้อหลัง (rear wheel steering) จะเป็นการหักล้อหลังซึ่งจะทำให้รอยทางเดินของล้อหน้าอยู่ด้านในของรอยทางเดินของล้อหลัง จึงเหมาะสมกับเครื่องจักรกลบางประเภทเช่น รถยก (fork lift) ทำให้สะดวกในการทำงานเคลื่อนย้ายและวางของ แต่เนึ่องจากล้อที่เลี้ยวอยู่ด้านหลังคนขับ คนขับจะไม่สะดวกในการทำงานในที่จำกัด
safety68 - 0003
1.3  การเลี้ยวทั้งล้อหน้าและล้อหลังในทิศทางตรงกันข้าม (coordinated steering) จะ เป็นการหักล้อหน้าและล้อหลังพร้อมกันแต่ในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งทำให้รอยของล้อหน้าและล้อหลังเป็นรอยเดียวกัน ไม่ว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลัง เป็นผลให้แรงต้านการหมุนของล้อลดลง ในกรณีที่ขับเคลื่อนไปบนพื้นที่อ่อน เพราะล้อหนึ่งจะบดทับพื้นเตรียมไว้ให้อีกล้อหนึ่ง แต่การลอยตัวจะไม่ดีและการเลี้ยวแบบนี้จะสามารถควบคุมตัวรถได้ง่ายในขณะทำงานบรรทุกหรือยกของ เต็มที่
1.4  การเลี้ยวทั้งล้อหน้าและล้อหลังในทิศทางเดียวกัน (crab steering) จะเป็นการหักล้อหน้าและล้อหลังพร้อมกันในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ตัวเครื่องจักรเคลื่อนที่ไปเป็นแนวเส้นตรงที่ทำมุมกับแนวของตัวรถ ถ้าล้อหน้าและล้อหลังหักทำมุมเท่ากัน การเลี้ยวแบบนี้ล้อทุกล้อจะมีรอยคนละรอย ทำให้การลอยตัวของเครื่องจักรกลดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยวอีกสามแบบ
นอกจากเครื่องจักรกลจะมีการเลี้ยวแบบใดแบบหนึ่งแล้ว เครื่องจักรกลบางประเภท เช่น รถเครนชนิดพิเศษจะสามารถทำการเลี้ยวได้ทั้ง 4 แบบ ซึ่งทำให้คล่องแคล่วในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง
ในระบบการเลี้ยวล้อยังสามารถแบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ตามลักษณะของกำลังงานที่ใช้ ในการบังคับการเลี้ยว ซึ่งแบ่งออกเป็น
1.  การเลี้ยวแบบธรรมดา (manual wheel steering) คือการเลี้ยวโดยใช้กำลังจากการใช้มือหมุนพวงมาลัยโดยตรงไปบังคับให้ล้อหักเลี้ยว ระบบการเลี้ยวแบบนี้จะทำงานโดยเมื่อหมุนพวงมาลัย แกนพวงมาลัยซึ่งต่อเข้ากับห้องเกียร์บังคับเลี้ยว จะทำให้แขนที่ต่อออกห้องเกียร์บังคับเลี้ยวโยกไปมา ต่อจากแขนดังกล่าวก็จะมีข้อต่อและแขนต่อไปผลักให้ล้อเลี้ยวหักเลี้ยวไป สำหรับห้องเกียร์บังคับเลี้ยวที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบ เช่น แบบ worm and peg, แบบ worm and sector และแบบ recirculating ball gear เป็นต้น
ส่วนชุดแขนต่อจากห้องเกียร์บังคับเลี้ยวก็มีได้หลายลักษณะเช่นกัน โดยจะขึ้นอยู่กับการออกแบบของบริษัทผู้ผลิตเป็นหลัก
safety68 - 0004
2.  การเลี้ยวโดยใช้กำลังช่วย (power booster steering) เป็นการเลี้ยวโดยการใช้กำลังจากภายนอกมาช่วยนอกเหนือจากกำลังจากการหมุนพวงมาลัยด้วยมือซึ่งนิยมใช้กำลังจากนํ้ามันไฮดรอลิกที่มีความดันสูง ส่วนการทำงานก็จะคล้ายกับการเลี้ยวแบบธรรมดา คือเมื่อหมุนพวงมาลัย แกนพวงมาลัยก็จะไปหมุนห้องเกียร์บังคับเลี้ยว ทำให้แขนที่ต่อออกจากห้องเกียร์บังคับเลี้ยวโยกไปมา และจากแขนที่ต่อออกจากห้องเกียร์บังคับเลี้ยวนี้จะต่อเข้ากับระบบไฮดรอลิกคือ วาล์วควบคุมการกระบอกไฮดรอลิก ซึ่งเป็นอุปกรณ์เพิ่มเติมจากระบบบังคับเลี้ยวแบบธรรมดา
safety68 - 0005
การทำงานเมื่อต้องการที่จะหักเลี้ยวล้อไปทางขวา ก็จะหมุนพวงมาลัยตามเข็มนาฬิกา ซึ่งจะทำให้แขนที่ต่อจากห้องเกียร์บังคับเลี้ยวขยับไปทางซ้าย ในเวลาเดียวกันวาล์วควบคุมซึ่งต่อเข้ากับแขนดังกล่าวก็จะเปิดให้นํ้ามันจากปั๊มไฮดรอลิกภายใต้ความดันเข้าไปด้านหน้าของลูกสูบ แต่เนื่องจากก้านสูบถูกยึดติดกันกับโครงของตัวเครื่องจักรกล นํ้ามันจึงทำให้ตัวกระบอกไฮดรอลิกรวมทั้งวาล์วควบคุมและแขนต่อเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ซึ่งจะเป็นผลให้ล้อถูกบังคับให้หักไปทางขวา และหากหมุนพวงมาลัยไปเรื่อย ๆ ตัวกระบอกไฮดรอลิกก็จะเครลื่อนที่ต่อไปจนถึงระยะไกลสุด แต่หากหยุดหมุนพวงมาลัยเมื่อใด กระบอกไฮดรอลิกซึ่งยังคงเคลื่อนที่อยู่จะพาให้เสื้อวาล์วควบคุม เลื่อนไปปิดทางนํ้ามัน เป็นผลให้ล้อหยุดหักไปทางขวา สำหรับกรณีที่จะหักเลี้ยวล้อไปทางซ้าย เมื่อหมุนพวงมาลัยทวนเข็มนาฬิกา แขนที่ต่อจากห้องเกียร์บังคับการเลี้ยวขยับไปทางขวาและจะดึงให้แกนวาล์วควบคุมเปิดนํ้ามันเข้าไปด้านหลังของกระบอกไฮดรอลิก เป็นผลให้กระบอก ไฮดรอลิกและชุดวาล์วควบคุมเคลื่อนที่ไปทางขวา ทำให้ล้อหักไปทางซ้าย การเลี้ยวโดยใช้กำลังช่วยนี้ หากระบบให้กำลังช่วยในที่นี้คือระบบไฮดรอลิกเกิดขัดข้อง ก็ยังสามารถที่จะบังคับการเลี้ยวของเครื่องจักรกลได้แต่ต้องใช้กำลังในการหมุนพวงมาลัยมากขึ้นเท่านั้นเอง
3.  การเลี้ยวโดยใช้ระบบไฮดรอลิกล้วน (full hydraulic steering) เป็นการเลี้ยวโดย การใช้กระบอกไฮดรอลิกของระบบไฮดรอลิกไปดันชุดแขนต่อ เพื่อจะทำให้ล้อหักไปโดยตรงการควบคุมของการเลี้ยวแบบนี้จะนิยมใช้คันควบคุม (control lever) มากกว่าจะใช้พวงมาลัย
เมื่อต้องการที่จะเลี้ยวซ้าย ก็จะดันคันควบคุมไปทางซ้าย เพื่อเปิดให้นํ้ามันจากปั๊มไฮดรอลิก ไหลเข้ากระบอกไฮดรอลิกดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ ก้านสูบซึ่งต่อเข้ากับชุดแขนต่อก็จะดันให้ล้อหักไปทางซ้ายจนถึงตำแหน่งที่ต้องการก็จะดันคันควบคุมกลับไปที่ตำแหน่งปิดนํ้ามัแ และเมื่อต้องการที่จะให้ล้อกลับสู่ตำแหน่งตรงก็จะต้องดันคันควบคุมไปทางขวาเพื่อเปิดนํ้ามันเข้ากระบอกไฮดรอลิกอีกด้านหนึ่ง ก้านสูบซึ่งต่อเข้ากับชุดแขนต่อกันจะดันให้ล้อหักกลับสู่ตำแหน่งตรง การบังคับเลี้ยว แบบนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็วซึ่งจะยากต่อการควบคุม
2.  การเลี้ยวโดยการหักลำตัว
เครื่องจักรกลที่มีการเลี้ยวโดยการหักลำตัวจะต้องแบ่งตัวรถออกเป็นส่วน และต่อส่วนของตัวรถเข้าด้วยกันโดยใช้สลักและบานพับ ซึ่งจะทำให้ส่วนของตัวรถที่จะหักเลี้ยวส่ายไปมาได้
safety68 - 0006
เนึ่องจากการเลี้ยวแบบนี้ต้องผลักให้ส่วนของลำตัวส่ายไป จึงจำเป็นจะต้องใช้กำลังมากกว่าการเลี้ยวเฉพาะล้อมาก จึงนิยมใช้ระบบไฮดรอลิกทำหน้าที่ในการบังคับเลี้ยวซึ่งประกอบด้วย ปั๊มไฮดรอลิกเพื่อส่งนํ้ามันผ่านวาล์วควบคุมไปยังกระบอกใฮดรอลิก โดยทั่วไปจะใช้กระบอกไฮดรอลิก 2 อัน ติดตั้งที่ด้านข้างของสลักและบานพับข้างละอัน ซึ่งตัวกระบอกจะยึดติดกับส่วน หลังของลำตัว และแกนจะยึดติดกับส่วนหน้าของลำตัว
safety68 - 0007
เมื่อต้องการจะเลี้ยวขวาก็จะหมุนพวงมาลัยไปทางขวา หรือดันคันควบคุมไปทางขวา เพื่อไปทำให้วาล์วควบคุมระบบไฮดรอลิกเปิดนํ้ามันไปยังกระบอกไฮดรอลิกทั้งสองด้าน โดยให้กระบอกไฮดรอลิกด้านซ้ายยืดออกและกระบอกไฮดรอลิกด้านขวาหดเข้า ถ้าเป็นการเลี้ยวซ้าย กระบอกไฮดรอลิกด้านขวาก็จะยืดออกส่วนกระบอกไฮดรอลิกด้านซ้ายก็จะหดเข้า สำหรับขีดความสามารถของการเลี้ยวโดยการหักลำตัวนี้ นิยมกำหนดโดยมุมที่แนวลำตัวด้านหน้าทำกับแนวตรง ถ้ามุมยิ่งใหญ่ก็แสดงว่าสามารถเลี้ยวได้วงแคบมาก
ในปัจจุบันการเลี้ยวโดยการหักลำตัวเป็นที่นิยมกันมาก เพราะระบบไอดรอลิกได้รับการพัฒนาจนเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ คงทน และไม่ยุ่งยาก เครื่องจักรกลที่ใช้การเลี้ยวแบบนี้ ได้แก่ รถตัก รถเกลี่ยดิน และรถขูด เป็นต้น ซึ่งทำให้เครื่องจักรกลเหล่านี้มีความคล่องตัวในการ ทำงานสูง
3.  การเลี้ยวโดยใช้ระบบไฟฟ้า
การเลี้ยวโดยใช้ระบบไฟฟ้า เป็นการบังคับเลี้ยวโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าต่อผ่านชุดเกียร์ทดไปผลักให้ล้อส่ายไปมา การควบคุมทำได้โดยการใช้สวิตช์ไฟฟ้าเพียง 2 ตัว ตัวหนึ่งทำหน้าที่ให้มอเตอร์หมุนไปผลักให้ล้อหักไปทางขวา และสวิตช์อีกตัวหนึ่งก็จะทำให้มอเตอร์หมุนไปผลักให้ล้อหักไปทางซ้าย
เครื่องจักรกลที่ใช้การเลี้ยวโดยใช้ระบบไฟฟ้านี้ได้แก่ รถขูด (motor scraper) บางยี่ห้อ แต่ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมใช้กันแล้ว เพราะจะใช้การเลี้ยวโดยการหักลำตัวแทน
4.  การเลี้ยวโดยการปรับการส่งกำลังไปยังล้อแต่ละข้าง
การเลี้ยวโดยการปรับการส่งกำลังไปยังล้อแต่ละข้าง นิยมใช้กับเครื่องจักรล้อยางขนาดเล็ก (นํ้าหนักรวมตํ่ากว่า 6 ตัน) การเลี้ยวแบบนี้จะให้วงเลี้ยวแคบที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยวแบบอื่น ๆ
เครื่องจักรกลที่มีระบบถ่ายทอดกำลังแบบไฮโดรสแตติก การเลี้ยวแบบนี้ก็สามารถ ควบคุมได้โดยการควบคุมการทำงานของมอเตอร์ไฮดรอลิกที่ขับล้อแต่ละข้าง ถ้าต้องการจะเลี้ยวขวา ก็จะหยุดการทำงานของมอเตอร์ไฮดรอลิกที่ขับล้อด้านขวา หรือให้ทำงานโดยการหมุนกลับไปด้านหลัง และให้มอเตอร์ไฮดรอลิกที่ขับล้อด้านซ้ายทำงาน โดยทั่วไปจะมีคันควบคุม 2 อัน อันหนึ่งสำหรับมอเตอร์ที่ขับล้อด้านขวา และอีกอันหนึ่งสำหรับมอเตอร์ที่ขับล้อด้านซ้าย
ส่วนเครื่องจักรกลที่มีระบบถ่ายทอดกำลังแบบทางกล (mechanical transmission) จำเป็นจะต้องมีชุดคลัตช์และเบรก 2 ชุดเพื่อใช์ในการตัดต่อกำลังไปยังล้อแต่ละข้าง ซึ่งถ้าจะเลี้ยวขวาก็จะให้ชุดคลัตช์ด้านขวาทำงานตัดการส่งกำลังไปยังล้อด้านขวา และให้เบรกทำงานเพื่อจะหยุดล้อด้านขวาด้วย
การบังคับเลี้ยวของเครื่องจักรกลตีนตะขาบ
การบังคับเลี้ยวของเครื่องจักรกลตีนตะขาบ จะเป็นการเลี้ยวโดยการปรับการส่งกำลังไปยังตีนตะขาบทั้งสองด้านเช่นเดียวกับการเลี้ยวของเครื่องจักรกลล้อยางแบบ skid steering ถ้าเป็นเครื่องจักรกลที่ถ่ายทอดกำลังแบบไฮโดรสแตติกก็ไม่จำเป็นจะต้องมีเบรกช่วย แต่ถ้าเป็นการถ่ายทอดกำลังแบบทางกลก็จำเป็นจะต้องมีเบรกช่วยในการเลี้ยวด้วย
สำหรับการเลี้ยวของเครื่องจักรกลตีนตะขาบที่มีการถ่ายทอดกำลังแบบทางกลหรือแบบ ที่ใช้ห้องเกียร์ จะต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ 2 อันคือ คลัตช์บังคับเลี้ยว(steering clutch) เพื่อทำหน้าที่ในการตัดต่อกำลังจากห้องเกียร์ไปยังชุดขับเคลื่อนท้ายแต่ละข้าง และเบรกเพื่อทำหน้าที่ในการหยุดชุดขับเคลื่อนท้ายแต่ละข้าง
คลัตช์บังคับเลี้ยวโดยทั่วไปจะใช้คลัตช์แบบแผ่นแห้งหลายแผ่น ดูตามรูปที่ 4.8 เพลาที่ต่อมาจาก bevel gear ที่ถูกขับโดย bevel pinion ที่ติดกับเพลาจากห้องเกียร์ จะติดกับตัวขับที่ทำเป็นรูปทรงกระบอก และจะมีแผ่นคลัตช์ตัวขับทำเป็นเฟืองด้านในสวมอยู่ ทำให้แผ่นคลัตช์ตัวขับนี้หมุนไปกับตัวขับทรงกระบอก ในระหว่างแผ่นคลัตช์ตัวขับจะมีแผ่นคลัตช์ตัวถูกขับที่ทำเป็นเฟืองด้านนอก แผ่นคลัตช์ตัวถูกขับนี้จะสวมอยู่ในตัวถูกขับรูปทรงกระบอก ในขณะที่ต่อกำลัง แผ่นคลัตช์ทั้งสองจะถูกกดเข้าหากันด้วยแผ่นกดซึ่งใช้แรงจากสปริง แต่เมื่อต้องการจะตัดกำลังก็จะกดให้สปริงให้หดตัวทำให้แผ่นกดเลื่อนออก แผ่นคลัตช์ทั้งสองก็จะไม่ติดกัน กำลังก็ไม่ถูกส่งไปยังตัวถูกขับทรงกระบอก สำหรับการกดสปริงโดยทั่วไปก็จะกระทำโดยใช้นํ้ามันไฮดรอลิก คันลูกสูบและไปตันสปริงอีกครั้งหนึ่ง
safety68 - 0009
สำหรับเบรกที่ใช้ช่วยในการบังคับเลี้ยวโดยทั่วไปจะเป็นแบบแถบรัดด้านนอก (con­tracting-band-type brake) ซึ่งจะใช้ผ้าเบรกทำเป็นแถบสวมอยู่บนตัวถูกขับทรงกระบอกของชุดคลัตช์บังคับเลี้ยว เมื่อต้องการจะเบรกก็จะเหยียบเบรกซึ่งจะไปดึงให้กลไกไปทำให้แถบผ้าเบรกรัดตัวติดกับตัวถูกขับทรงกระบอกของชุดคลัตช์บังคับเลี้ยว นอกจากนี้เบรกที่ใช้ช่วยในการบังคับเลี้ยวจะใช้เป็นเบรกเมื่อจอดเครื่องจักรกล (parking brake) ด้วย

ไดชาร์จรถโฟล์คลิฟท์

อะไหล่รถโฟล์คลิฟท์ รถโฟล์คลิฟท์ TCM 01

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

RFID Enabled Forklift System


รถยกอัจฉริยะติดตั้งระบบอาร์เอฟไอดี
ในที่สุดระบบอาร์เอฟไอดีเคลื่อนที่ซึ่งสามารถให้ข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งแบบ ณ เวลาจริง และความสามารถในด้านการติดตามข้อมูลในสภาพแวดล้อมจริงของคลังสินค้าก็เกิดขึ้นแล้ว ภายใต้วิสัยทัศน์ร่วมกันของบริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ บริษัท เรดแพรรี (RedPrairie) บริษัท อินเตอร์เมค อิงค์. และบริษัท     แคสเคด (Cascade) คอร์ป. ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยกรายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยการสร้างรถยกเป็นต้นแบบสำคัญของการแสดงความสามารถของอาร์เอฟไอดีในการะบุตำแหน่งที่ตั้งแบบ ณ เวลาจริงได้อย่างถูกต้องและพร้อมใช้งานในอุปกรณ์แห่งอนาคตนี้
รถยกคันนี้ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ Wireless Location Appliance ของบริษัท ซิสโก้ และซอฟต์แวร์ Mobile Resource Management ในมาตรฐานแบบเปิดของบริษัท เรดแพรรี ผสานกับระบบอ่านอาร์เอฟไอดีสำหรับรถยกที่พัฒนาโดยบริษัท อินเตอร์เมค และบริษัท แคสเคด ด้วยระบบที่สมบูรณ์     ผู้ขับรถยกสามารถอ่านและเข้ารหัสป้าย (tag) อาร์เอฟไอดีได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องลงจากรถก่อน และผู้จัดการจะได้รับข้อมูลในเวลาจริงเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งและการทำงานของรถยกที่สามารถนำข้อมูลที่ได้นั้นมาใช้จัดการแรงงานและสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การผสานร่วมกันของ Unified Wireless Network ซึ่งเป็นบริการเครือข่ายไร้สายของบริษัท ซิสโก้ และ Wireless Location Appliance จะทำให้ผู้ใช้สามารถติดตามตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่ายไร้สาย 802.11 ได้อย่างทั่วถึง ขณะที่ซอฟต์แวร์ของบริษัท เรดแพรรี จะช่วยระบุตำแหน่งของรถยกที่ติดตั้งอาร์เอฟไอดี รายงานการเคลื่อนที่ ตรวจสอบเวลาที่อยู่ และเก็บข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัย ตรวจสอบประสิทธิภาพของพนักงาน พร้อมทั้งแอพพลิเคชั่นดูแลรักษาและจัดการสินทรัพย์
ซอฟต์แวร์ Mobile Resource Management ของบริษัท เรดแพรรี ที่ผสานเข้ากับ Wireless Location Appliance จะก่อให้เกิดการประมวลผลข้อมูลขั้นสูงและความสามารถในด้านส่วนการเชื่อมต่อ (อินเทอร์เฟซ) ที่ ทำให้ใช้งานร่วมกับระบบซอฟต์แวร์ที่มีอยู่เดิม ได้แก่ แอพพลิเคชั่นบริหารจัดการคลังสินค้า บริหารจัดการพื้นที่คลังสินค้า วางแผนแรงงาน และบริหารจัดการสินทรัพย์ ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนการทำงาน การจัดการประสิทธิภาพกำลังคน และการใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ระบบที่สมบูรณ์ดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ขับรถยกที่ต้องใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีร่วมด้วยนั้น สามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบาย และยังให้ข้อมูลด้านการจัดการที่สามารถปรับใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่วนต่างๆ ของระบบได้รวมเอาลักษณะเฉพาะที่สามารถเอาชนะข้อจำกัดทางกายภาพและไร้สายในสภาพแวดล้อมจริงของคลังสินค้าหรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้
รถยกของกลุ่มความร่วมมือนี้ได้ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ไว้ด้านหน้าคนขับ ในตำแหน่งที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด ขณะที่ส่วนควบคุมอาร์เอฟไอดีก็เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย สามารถติดตามตำแหน่งได้ ณ เวลาจริง และยังมีไฟแอลอีดีนำทางเพื่อระบุเส้นทางที่เหมาะสม ตลอดจนเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีที่ถูกปรับให้ใช้งานง่ายขึ้น รถยกอัจฉริยะคันนี้ออกแบบมาให้สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมจริงของคลังสินค้าปัจจุบัน นอกจากนี้ยังผสานระบบจัดการเคเบิล สแกนไร้สายรุ่นใหม่ และกล้องในตัวสำหรับช่วยงานด้านเอกสารของสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
WWW.PCNFORKLIFT.COM