วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รับซ่อมมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า


WWW.PCNFORKLIFT.COM

รับซ่อมมอเ้ตอร์ไซต์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า


WWW.PCNFORKLIFT.COM

สภาพแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ชำรุด


WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ระบบหล่อเย็น

ในระบบหล่อเย็นของเครื่องยนตืดีเซลนี้ จะมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ในขณะที่ทำงานมีอุณหภูมิความร้อนสูงจนเกินไป หรือเกินขีดจำกัดที่เครื่องจะทนได้ ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลนั้น โดยปกติจะถูกออกเเบบให้ทำงานในอุณหภูมิที่มีความร้อนสูงมาก ดังนั้นระบบหล่อเย็นจึงมีหน้าที่นำความร้อนส่วนเกินของเครื่องยนต์ในขณะทำงานออกจากเครื่องยนต์ เเละอาจทำให้ส่วนประกอบอื่นๆ ของเครื่องยนต์เสื่อมสภาพหรือถึงขนาดชำรุดเสียหายได้ นอกจากนี้ระบบหล่อเย็นยังสามารถควบคุมอุณหภูมิจากความร้อนที่สูงขึ้ของเครื่องยนต์ได้อีกด้วย ซึ่งระบบดังกล่าวจะพยามยามรักษาระดับอุณหภูมิให้มีความคงที่ เเละกำจัดความร้อนส่วนเกินออกจากเครื่องยนต์ในขณะทำงาาน เนื่องจากหากเครื่องยนต์มีอุณหภูมิที่ต่ำหรือเย็นเกินไปก็อาจจะส่งผลให้ส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องยนต์เกิดการสึกหรอได้เช่นกัน ในปัจจุบันได้มีการติดตั้งระบบหล่อเย็นเพื่อควมคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ขณะทำงานอยู่ 2 เเบบ คือ -ระบบหล่อเย็นด้วยอากาศ ซึ่งในตัวระบบจะปล่อยให้อากาศภายนอกผ่านเข้าสู้ตัวเครื่องยนต์โดยตรง ทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนโดยอาศัยอากาศเป็นตัวนำพา -ระบบหล่อเย็นด้วยของเหลว ของเหลวที่ว่านี้ ก็คือน้ำโดยทั่วไปนั้นเอง โดยของเหลวเช่นน้ำนั้น จะไหล่ผ่านช่องต่างๆ ที่ถูกติดตั้งขึ้นในตัวของเครื่องยนต์เพื่อให้ความร้อนที่เกิดขึ้นถูกถ่ายเทไปกับน้ำที่ไหลผ่านสัมผัสตัวเครื่องยนต์นั้นซึ่งหลังจากที่น้ำถ่ายเทความร้อนออกจากเครื่องยนต์ในขณะทำงานเเล้ว น้ำร้อนเหล่านั้นจะถูกนำไปเก็บไว้ในอีกที่หนึ่ง เพื่อให้น้ำนั้นมีการปรับสภาพอุณหภูมิให้ลดลง(น้ำนั้นเย็นลง) จึงจะถูกส่งกลับไปไหลเวียนในระบบหล่อเย็นด้วยของเหลวตามเดิม สำหรับระบบหล่อเย็นนี้ จะมีอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบเพื่อทำงานในระบบดังนี้ 1.หม้อน้ำ คือ ถังเก็บน้ำที่ใช้สำรองน้ำไว้ให้เพียงพอต่อการหมุนเวียนของระบบหล่อเย็น โดยหม้อน้ำจะเป็นเครื่องถ่ายเทความร้อนจากน้ำไปสู่อากาศโดยคอยล์ร้อน 2.พัดลม คือ อุปกรณ์ที่มีหน้าที่ดูดเอาลมผ่านหม้อน้ำเพื่อคลายความร้อนออกจากน้ำในหม้อน้ำ ซึ่งพัดลมนี้จะทำงานตามระยะเวลาที่ถูกตั้งไว้ เพื่อใหเมีการระบายความร้อนออกจากหม้อน้ำเป็นช่วงๆ 3. ปั๊มน้ำ คือ อุปกรณ์ที่มีหน้าที่ปล่อยน้ำให้ไหลเวียนในระบบหล่อเย็นได้อย่างเพียงพอเเละเหมาะสม 4.เทอร์โมสตัด สำหรับอุปกรณ์ชนิดนี้ จะมีหน้าที่ควมคุมอุณหภูมิในระบบหล่อเย็น โดยจะสั่งการให้ปล่อยน้ำเพื่อทำการไหลเวียนเพื่อคลายความร้อนให้เเก่เครื่องยนต์ ซึ่งเทอร์โมสตัดนี่้ จะควบคุมให้มีการหล่อเย็นเป็นช่วงๆ ตามความเหมาะสมเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิให้เเกเครื่องยนต์

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ตรวจเช็คเเบตเตอรี่รถกอล์ฟ CLUBCAR


WWW.PCNFORKLIFT.COM

ปัญหาการสึกหรอของยาง



 ปัญหาการสึกหรอของยาง
              ยางรถเป็นส่วนหนึ่งของระบบส่งกำลัง  ระบบบังคับเลี้ยว และระบบรองรับ  ซึ่งจากหน้าที่ที่มีส่วนร่วมที่สำคัญนี้จึงต้องรักษายางให้คงสภาพที่ดีอยู่เสมอ  เพราะฉะนั้นในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับยางในขั้นแรกนั้นจะต้องตรวจสอบสภาพของยางว่ามีการใช้งานที่ถูกต้องและบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่เสียก่อน
  ดังนั้นการสึกหรอของยางที่ผิดปกติจึงเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ยางสึกบริเวณไหล่ยางหรือตรงกลาง  สาเหตุหลักที่สำคัญนั้นเกิดจากการบกพร่องในการรักษาแรงดันลมยางให้ได้ตามค่าที่กำหนดไว้  ดังนั้นการเติมแรงดันลมยางให้อ่อนเกินไปจะทำให้บริเวณส่วนกลางของยางเว้าเข้าน้ำหนักของรถจะตกบริเวณไหล่ยาง  จึงเป็นสาเหตุให้บริเวณไหล่ยางทั้งสองข้างนั้นสึกเร็วกว่าบริเวณตรงกลาง
     แต่ในทางตรงกันข้าม  ถ้าเติมลมยางให้มากกว่าค่าที่กำหนดไว้  ผลที่ตามมานั้นจะทำให้บริเวณส่วนกลางของยางสึกหรอเร็วกว่าบริเวณไหล่ยางทั้งสองข้าง
2. ยางสึกจากการเลี้ยว  สภาพการสึกของดอกยางจะมีลักษณะทแยงมุม เป็นสาเหตุที่เกิดจากผู้ขับขี่นั้นเลี้ยวโค้งด้วยความเร็วที่สูงมาก  วิธีแก้ไขก็คือ ผู้ขับขี่ควรลดความเร็วลงในขณะที่เลี้ยวเข้าโค้ง
3. ดอกยางสึกเพียงด้านเดียว สาเหตุหลักนั้นเกิดจากมุมแคมเบอร์ผิด ทำให้พื้นที่สัมผัมถนนของยางต่างกันตามน้ำหนักที่กดลง  เช่น ถ้ายางมีมุมแคมเบอร์บวก  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอกสั้นกว่าด้านในเป็นสาเหตุให้บริเวณพื้นดอกยางด้านนอกนั้นเกิดการลื่นไถลไปบนพื้นถนนทำให้ดอกยางด้านนอกสึกเร็วกว่าดอกยางด้านใน  ในทางตรงกันข้าม  ถ้าเป็นมุมแคมเบอร์ลบ  ก็จะทำให้ดอกยางด้านในนั้นสึกเร็วกว่าดอกยางด้านนอก
4. ดอกยางสึกคล้ายขนนก  สาเหตุหลักที่สำคัญนั้นเกิดจากการตั้งมุมโทผิด  เช่น ถ้าปรับตั้งมุมล้อเป็นมุมโทอินมากเกินไป  จะมีผลทำให้ยางเกิดการลื่นไถลออกและดึงให้ผิวหน้าสัมผัสของดอกยางกับพื้นถนนเข้าด้านใน ลักษณะการสึกของดอกยางจะมีรูปร่างคล้ายขนนกจากด้านในไปด้านนอก  และในทางตรงกันข้าม ถ้ามุมล้อถูกปรับให้เป็นมุมโทเอ๊าต์มากเกินไป ดอกยางก็จะสึกคล้ายขนนกเช่นกัน โดยจะสึกวิ่นตามแนวขวางจากด้านนอกไปยังด้านใน
5. ดอกยางสึกเป็นคลื่น  สาเหตุนั้นเกิดจากรถที่ใช้ดอกยางแบบลัก เช่น รถบัส ซึ่งเป็นผลมาจากการเบรค จึงทำให้ดอกยางมีรูปแบบที่คล้ายกับการสึกที่เกิดจากมุมโทเช่นกัน
6. การสึกของยางเป็นเบ้าคล้ายถ้วย  ลักษณะการสึกของยางนั้นเกิดจากการที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูงและลื่นไถลชั่วขณะ
7. การสึกของยางเป็นเบ้าตลอดทั้งเส้น  สาเหตุนั้นเกิดจากการชำรุดของลูกปืนล้อ  ลูกหมาก  คันส่ง หรือมีระยะฟรีมากเกินไป จึงทำให้เกิดการลื่นไถลเป็นจุดๆ
8. การสึกของดอกยางเป็นแนวยาว  สาเหตุเกิดจากการสึกของจานเบรคที่กระทำเป็นช่วงๆ จึงทำให้เกิดการสึกของยางเป็นแนวยาวกับพื้นที่สัมผัสของพื้นถนนในทิศทางแนวเส้นรอบวง การสึกหรอมีสาเหตุมาจากดรัมเบรคทำงานเป็นระยะๆ
9. การสึกของดอกยางเหมือนเส้นรองเท้า  ลักษณะการสึกเหมือนเส้นรองเท้า จะพบมากกับดอกยางแบบบล็อคและแบบลัก  สาเหตุนั้นมาจากการปรับตั้งมุมโทผิดและวิ่งบนถนนเรียบบ่อยครั้ง
10. ตัวถังรถสั่นเมื่อใช้ความเร็ว  สาเหตุหลักของการสั่นที่ตัวถังนั้นเกิดจากยางรถทุกเส้นไม่สมดุลกันหรือบิดเบี้ยวมากกว่าค่าที่กำหนด  อาการสั่นนี้จะเกิดขึ้นที่ระดับความเร็วตั้งแต่ 40 ถึง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
11. พวงมาลัยเต้นหรือสะบัด  สาเหตุหลักที่สำคัญนั้นเกิดจากยางทุกเส้นไม่สมดุลหรือจากสาเหตุอื่นซึ่งได้แก่  ก้านต่อบังคับเลี้ยวชำรุดและศูนย์ล้อผิด
    ลักษณะของการเต้นหรือสะบัดของพวงมาลัยถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกันคือ
*  เกิดการสั่นตลอดเวลาตั้งแต่ความเร็วประมาณ  20 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจนถึงความเร็วที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
* เกิดอาการที่เรียกว่า  สะบัด  ที่ความเร็วประมาณ 80 กิโลเมตรต่ิอชั่วโมง
                           แรงดันลมยาง  ( Inflation  Pressure ) 
             ยางรถยนต์จะต้องสูบลมให้ได้แรงดันลมตามที่กำหนดไว้  แต่ถ้ายางอ่อนเกินไป จะทำให้แก้มยางมีความยืดหยุ่นมาก  เกิดความร้อนสูง  ดอกยางสึก สมรรถนะในการขับขี่จะไม่ปลอดภัย  ดังนั้นแรงดันลมยางจึงต้องหมั่นตรวจสอบให้เป็นปกติ  และปรับให้ได้ค่าตามที่กำหนด  หรืออาจจำเป็นที่จะต้องเพิ่มหรือลดให้มีความแตกต่างจากแรงดันปกติก็ตาม
       ด้วยเหตุนี้การเติมลมยางให้มีแรงดันที่แตกต่างจากค่าที่กำหนดจะมีผลต่อยางดังนี้ ในกรณีแรงดันลมยางมากเกินไป  จะทำให้เกิดปัญหาดังนี้
- ความยากลำบากในการบังคับ
- ทำให้ดอกยางตรงกลางสึกหรอเร็วขึ้น
- ชั้นดอกยางจะแยกตัว  ซึ่งเป็นผลมาจากอุณหภูมิความร้อนจากความฝืด
- ชั้นผ้าใบเกิดการเสียหาย
    แรงดันลมยางต่ำเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้  คือ
- ขอบของดอกยางจะสึกมากเกินไป
- การบังคับเลี้ยวยาก
- ที่ความเร็งสูงยางจะยืดหยุ่นมาก  ทำให้มีอุณหภูมิความร้อนสูง เกิดคลื่นและระเบิด
- มีความฝืดสูง  ทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น
WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การปฏิบัติงานในคลังสินค้าด้วยความปลอดภัย

ท่าเทียบขนถ่ายสินค้า(Dock)

ท่าเทียบขนถ่ายสินค้าเป็นสถานที่ที่พลุกพล่านและแฝงด้วยอันตราย การบาดเจ็บจำนวนมากเป็นผลมาจากรถยกตกจากท่าเทียบ หรือ สินค้าตกใส่คน เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติบนท่าเทียบขนถ่ายสินค้า
๐  การเคลื่อนย้ายน้ำหนักสินค้าขึ้นลงทางลาดชัน ควรให้น้ำหนัก
   สินค้าอยู่ด้านที่สูงกว่า
๐  งาของรถยกที่ไม่มีน้ำหนักบรรทุกต้องอยู่ในตำแหน่งทิ่มลงเสมอ
๐  ใช้หมอนหนุนรองล้อรถลากพัลเลทที่จอดเสียบนท่าเทียบหรือที่ลาดชันเสมอ
๐  ติดป้ายเตือนไว้ที่คันบังคับรถให้ผู้อื่นรู้ว่ารถมีปัญหา
๐  ถอดกุญแจออกจากรถเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นนำรถไปใช้

การใช้งานรถลากที่บังคับด้วยมือ(Hand Truck)

กิจกรรมในคลังสินค้าประกอบไปด้วยการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์สินค้า เครื่องมืออุปกรณ์ และวัตถุดิบ มากมาย พนักงานต้องใช้รถลากที่บังคับด้วยมืออย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง ผู้อื่น และสินค้าที่เคลื่อนย้าย

ข้อควรปฏิบัติในการขึ้นของ ลงของ และเคลื่อนย้ายสิ่งของ
ค่อยๆเสียบงาของรถลากเข้าไปด้านล่างของสินค้าให้ได้ตำแหน่งที่
   เหมาะสมก่อนจึงดันงาเข้าไปจนสุด
๐  ให้คนช่วยกำกับทาง เมื่อต้องขนย้ายสินค้าขนาดใหญ่จนบดบังทิศทางที่
    ต้องการเคลื่อนย้าย
๐   รักษาจุดศูนย์ถ่วงน้ำหนักบรรทุกไว้ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำที่สุด ด้วยการจัด  
    วางน้ำหนักบรรทุกที่หนักกว่าไว้ด้านล่างเสมอ
๐   ให้น้ำหนักแรงผลักไปที่สิ่งของที่บรรทุกเพื่อถ่ายแรงผลักไปที่เพลาล้อ แทนที่
    จะถ่ายผ่านมือบังคับของรถ
ข้อควรปฏิบัติในการใช้งานแม่แรงยกลากพาเลท
เฉพาะผู้ที่ได้รับหมอบหมายเท่านั้นสามารถใช้งานแม่แรงยกลากพัลเลทได้
๐  ไม่บรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดกำหนด ดูได้จากแผ่นบอกพิกัดน้ำหนักบรรทุกที่
   ติดไว้กับแม่แรง
๐  เริ่มเคลื่อนย้ายและหยุดรถแม่แรงอย่างช้าๆเพื่อป้องกันของที่บรรทุกเลื่อนล้ม
๐  การใช้งานปกติใช้การดึงรถแม่แรงเสมอ จะใช้วิธีดันรถในกรณีของการ
    เคลื่อนย้ายลงเนิน หรือเคลื่อนผ่านช่องผนังที่แคบ หรือมีสิ่งกีดขวาง
๐  ให้คนช่วยกำกับทางถ้าไม่สามารถเห็นทางได้ชัดเจน




รถยก

รถยก 








เป็นรถที่ใช้สำหรับยกและขนย้ายสิ่งของ รถยกสมัยใหม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 ในปัจจุบันรถยกถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า เป็นการช่วยลดเวลาการทำงาน ทุ่นแรงยกและการเคลื่อนย้าย ลดการบาดเจ็บจากการยกของหนัก และลดการจ้างมนุษย์ ลักษณะโดยทั่วไปของรถยกมี แท่งเหล็กยื่นออกมาจากโครงสร้างหลักของตัวรถเรียกว่า งาเพื่อใช้สำหรับวางและยกสิ่งของ เพื่อทำการเคลื่อนย้าย โดยอาศัยกลไกการทำงานในรูปแบบต่างๆ


ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 มีส่วนสำคัญในการที่จะพัฒนาการยกแท่นรองฐานปืนด้วยระบบไฟฟ้าในการยก เนื่องจากความจำเป็นและสะดวกในการใช้งาน ได้มีการคิดค้นพัฒนาเพิ่มในด้านของการยกและขนย้ายลูกระเบิดให้เป็นไปด้วยความนิ่มนวลและมีความปลอดภัยมากขึ้น จึงได้พัฒนาใช้ทั้งแบบเชิงกล และรถยกใช้ไฟฟ้าขึ้นมาด้วย
รถยกรุ่นแรกจะเป็นแบบง่าย ๆ ไม่ใช้ระบบไฮดรอลิคในการยก ไม่มีงา แต่ใช้รอกเป็นตัวดึงโซ่และยก ยกได้ไม่สูงมากนัก ไม่ใช้คนนั่งขับ
ปี พ.ศ. 2460 ได้มีการพัฒนารถยกที่ใช้คนนั่งขับ โดย บริษัท Clark จำกัด เรียกว่า TruckTracter แต่เป็นการผลิตเพื่อใช้งานของ Clark เอง ในอีก 6 ปีต่อมา บริษัท Yale ได้ผลิตรถยกแบบใช้ไฟฟ้า และมีงาใช้ในการยกขึ้นมา การยกขึ้น-ลง ใช้แบบ Ratchet & Pinion หรือการใช้เฟืองและสปริงช่วยในการหมุนเพื่อผ่อนแรงยก
การใช้งานรถยกในสมัยนั้นยังเป็นไปแบบไม่แน่นอนจนได้มีการพัฒนาแท่นวางสินค้าขึ้นอย่างมีมาตรฐานในปี พ.ศ. 2473 เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้มีการพัฒนารถยกเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการพัฒนารถยกเป็นไปแบบก้าวกระโดด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2ความต้องการด้านอุปโภคและยุทธภัณท์ สูงขึ้นหลายเท่าตัว เป็นแรงผลักดันให้มีการเร่งพัฒนาการขนย้ายโดยเฉพาะการขนย้ายด้วยรถยก ส่วนรถยกที่ใช้ไฟฟ้าได้สร้างแบตเตอรี่สามารถใช้งานได้ 8 ชั่วโมงติดต่อกันโดยไม่ต้องประจุไฟใหม่
ต่อมาจึงได้พัฒนาด้านความปลอดภัยให้แก่คนขับขึ้นด้วยการทำกรงเหล็กป้องกันสิ่งของตกใส่คนขับ
WWW.PCNFORKLIFT.COM

วงจรชุดคันเร่ง รถกอล์ฟ CARIO



WWW.PCNFORKLIFT.COM