วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

เบรคดรัม

การเปลี่ยนฝักเบรคและตรวจสอบจานเบรคดรัม
          การเปลี่ยนและตรวจสอบฝักเบรคในที่นี้เป็นการเปลี่ยนฝักเบรคของดรัมเบรคล้อหลัง  ซึ่งจะกลไกเบรกมือรวมอยู่ด้วย  และจะสามารถกระทำได้ก็ต่อเมื่อเกิดการบกพร่องของระบบห้ามล้อ  เช่น อาการเบรคติด  เบรคดึงไปด้านใดด้านหนึ่ง  มีเสียงดัง  หรือเปลี่ยนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
       ดังนั้นลำดับขั้นตอนในการถอดและตรวจสอบจึงควรที่จะศึกษาขั้นตอนต่างๆ ให้เข้าใจ เพื่อที่จะปฎิบัติได้อย่างถูกต้อง
  1.การถอดฝักบัว  ขั้นตอนในการถอดฝักเบรคสามารถปฎิบัติได้ดังนี้
 - ถอดน๊อตล้อและล้อหลังออกด้วยประแจ
 - ยกรถขึ้นและถอดล้อออก
 - ปล่อยเบรกมือ
 - ถอดจานดรัมเบรคออก โดยการใช้ไขควงสอดเข้ารูแผ่นหลังเบรคและงัดแกนปรับตั้งอัตโนมัติออกจากโบลด์ปรับตั้ง  จากนั้นให้ใช้ไขควงอีกตัวหนึ่งหมุนสกรูปรับตั้งเพื่อทำให้สตัดดันฝักเบรกมีขนาดที่สั้นลง
 - ปลดสปริงดึงกลับฝักเบรคออก
 - ถอดสปริงยึดฝักเบรค  ตัวรองสปริง และสลักล็อคออก โดยการใช้เครื่องมือหมุนสลักยึดสปริงไป 90 องศา ขณะที่ยึดปลายสลักไว้ด้วยนิ้วมือ  ปลดขอเกี่ยวสปริงยึดฝักเบรคและฝักเบรคตัวหน้าออก
 - ถอดฝักเบรคหลัง  โดยการถอดสปริงยึดฝักเบรค ตัวรองสปริง และสลักล็อคล้อ  โดยใช้เครื่องมือหมุนสลักยึดสปริงไป  90 องศาในขณะที่ใช้นิ้วมือยึดปลายสลักไว้
 - ใช้ไขควงปลดสายเบรคมือออกจากขอยึด
 - ใช้คีมปลดสายเบรคมือออกจากแขนเบรคมือและถอดฝักเบรคหลังออก  รวมทั้งสตัดดันฝักเบรค
 - ถอดสตัดดันฝักเบรคและสปริงแขนปรับตั้ง
 - ถอดสตัดดันฝักเบรคและสปริงดึง
 - ใช้ไขควงงัดแหวนล็อคและถอดแกนปรับตั้งอัตโนมัติ
 - ใช้ไขควงงัดแหวนล็อคและถอดแขนเบรคมือออกจากฝักเบรค
   การตรวจสอบชิ้นส่วนของดรัมเบรคหลัง   
  ภายหลังจากการถอดฝักเบรคและจานดรัมเบรคออก จะต้องทำความสะอาดและตรวจสอบเสียก่อน ถ้าพบชิ้นส่วนทีมีค่าไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ จึงควรเปลี่ยนชิ้นส่วนเสียใหม่  ดังนั้นการตรวจสอบชิ้นส่วนของดรัมเบรคหลังจึงมีขั้นตอนดังนี้
 - ใช้เวอร์เนียร์วัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในจานดรัมเบรค  ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางที่วัดได้มีค่ามากกว่าค่าที่กำหนดจึงควรที่จะเปลี่ยนใหม่
 - ตรวจสอบการสึกหรอที่ผิดปกติหรือเป็นเส้นด้านในจานดรัมเบรคซึ่งก็อาจจะต้องกลึงให้อยู่ในค่าของเส้นผ่าศูนย์กลางภายในสูงสุด
 - ตรวจวัดความหนาของผ้าเบรค ถ้าส่วนที่สึกมากกว่าค่าต่ำสุดที่กำหนด ให้เปลี่ยนเสียใหม่
 - ใช้ชอล์กทาด้านในของจานดรัมเบรคและนำฝักเบรคมาตรวจสอบการสัมผัสปกติ ถ้ารอยสัมผัสผิดปกติ ให้เจียระไนผ้าเบรคหรือเปลี่ยนใหม่
   การประกอบฝักเบรค     การประกอบฝักเบรคสามารถปฎิบัติได้หลังจากได้ทำการตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆหรือได้เปลี่ยนใหม่  ดังนั้นการประกอบจึงต้องปฎิบัติตามลำดับย้อนกลับการถอด  แต่อย่างไรก็ตาม
ชิ้นส่วนของเบรคล้อหลังจะมีทั้งล้อซ้ายและขวา จึงควรระมัดระวังในการประกอบ
     การประกอบฝักเบรคของล้อหลังจะสามารถปฎิบัติตามขั้นตอนดังนี้
- ก่อนประกอบให้ทาจาระบีทนความร้อนในจุดสัมผัส เช่น แผ่นหลังเบรค จุดสัมผัสฝักเบรค  แผ่นขอเกี่ยว
- ทาจาระบีที่สกรู ปรับตั้งสตัดดันฟันเบรค
- ประกอบแขนเบรคมือและใช้แหวนล็อคตัวใหม่เข้าฝักเบรคหลัง  จากนั้นใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะช่องว่างระหว่างฝักเบรคกับแขนเบรคมือ  ค่าที่วัดได้จะต้องน้อยกว่า 0.35 มิลลิเมตร
- ใช้คีมประกอบแหวนล็อคให้เข้าที่
- ประกอบแกนปรับตั้งอัตโนมัติเข้ากับฝักเบรคหลัง และใช้คีมประกอบแหวนล็อค
- ประกอบสตัดเข้าแกนปรับตั้งอัตโนมัติและประกอบขอเกี่ยวของสปริงดึงกลับฝักเบรคเข้ากับฝักเบรคหลัง
- ใช้คีมปลายแหลมประกอบสปริงของแกนปรับตั้งเข้ากับแกนปรับตั้งอัตโนมัติ
- ใช้คีมปลายแหลมประกอบสายเบรคมือเข้ากับแขนเบรคมือที่อยู่กับฝักเบรค
- ใช้ไขควงดันสายเบรคมือให้เข้ากับขอเกี่ยว
- จัดฝักเบรคให้เข้าที่  โดยให้ปลายด้านบนสอดเข้ากระบอกเบรคที่ล้อ และให้ปลายอีกด้านเข้าในแผ่นขอเกี่ยว จากนั้นให้ประกอบสปริงยึดฝักเบรค  แผ่นรอง และสลัก
- ประกอบขอเกี่ยวสปริงเข้ากับฝักเบรคหลังและฝักเบรคหน้าเข้าด้วยกัน
- จัดปลายด้านบนของฝักเบรคหน้าสอดเข้าในกระบอกที่ล้อและปรับให้เข้าที่
- ใช้เครื่องมือประกอบสปริงยึดฝักเบรค  ตัวรองสปริง และสลัก
- ใช้เครื่องมือประกอบสปริงดึงกลับฝักเบรค
- ใช้กระดาษทรายขัดทำความสะอาดผ้าเบรคและผิวด้านในจานเบรคดรัม
- ตรวจสอบการทำงานของกลไกปรับตั้งอัตโนมัติด้วยการดึงแขนเบรคมือของฝักเบรคหลังขึ้นลง
- ปรับตั้งความยาวตัวปรับตั้งให้มีระยะสั้นที่สุด  และประกอบจานเบรคดรัม
- ดึงคันเบรคมือขึ้นให้สุดและดึงจนกระทั่งไม่ได้ยินเสียงดังคลิ๊ก
- ถอดจานเบรคออกและวัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในจานเบรค
- วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของฝักเบรค เพื่อตรวจระยะห่างของผ้าเบรคและจานเบรคดรัม ซึ่งจะต้องมีระยะห่างประมาณ  0.6  มิลลิเมตร
- ประกอบจานเบรคดรัมและเหยียบเบรค  2  ถึง  3 ครั้ง จากนั้นจึงหมุนจานดรัมเบรคจะต้องหมุนได้อย่างอิสระ
- ประกอบล้อหลังขันน็อตให้แน่น
2. การถอดกระบอกเบรคที่ล้อ  การถอดกระบอกเบรคที่ล้อสามารถปฎิบัติได้ดังนี้
- ให้ถอดกระบอกเบรคที่ล้อออกจากแผ่นหลังเบรค  โดยการใช้ประแจคลายโบลด์ยึดกระบอกเบรคที่ล้อ
- ถอดลูกสูบ  ลูกยางเบรค  สปริงอัดออกจากกระบอกที่ล้อ
- ทำความสะอาดและตรวจการสึกหรอ  หรือสนิมที่กระบอกเบรค
- ตรวจสอบสภาพกระบอกเบรกที่ล้อด้วยโนโกเกจ
- ใช้ฟิลเลอร์เกจตรวจระยะห่างระหว่างกระบอกสูบกับลูกสูบ  ซึ่งระยะห่างระหว่างกระบอกเบรคที่ล้อลูกสูบมาตรฐาน 0.127  มิลลิเมตร ( 0.005 นิ้ว )
3. การประกอบเบรคที่ล้อ  การประกอบชิ้นส่วนของกระบอกเบรคที่ล้อให้กระทำย้อนกลับการถอดแต่ก่อนจะทำการประกอบ  ควรจะชโลมด้วยน้ำมันเบรค
WWW.PCNFORKLIFT.COM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น